เครื่องมือวิทยาศาสตร์

Microplate Reader
Microplate Reader
ความรู้ทั่วไป : วัดการดูดกลืนแสงของสารละลายในไมโครเพลทได้ ในช่วงอัลตราไวโอเลต (UV) และช่วงวิสิเบิล (VIS) สามารถวัดการดูดกลืนแสงได้ที่ความยาวคลื่นตั้งแต่ช่วง 200-1000 nm. โดยสามารถใช้กับเพลทชนิด 96 และ 384 หลุม รวมทั้งที่มีและไม่มีฝาปิด และคิวเวทท์ (Cuvette) ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิในการบ่มได้ตั้งแต่ 4 – 45 °C และมีระบบเขย่า โดยความเร็วในการวัดค่าดูดกลืนแสงไม่เกิน10 วินาที
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องอ่านปฏิกิริยาบนไมโครเพลท (Microplate Reader)
ยี่ห้อ : BMG Labtech รุ่น : Spectrostar Nano
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ  :

  1. 150 บาทต่อชั่วโมง
ความยาวคลื่น (nm) Min 220 nm, Max 1,000 nm
อุณหภูมิ (ºC) Min 25ºC, Max 45ºC (0.1 ºC)
Well scanning Min 2×2, Max 30×30
Diameter 1-6 mm
สามารถสแกนได้สูงสุด 8 ความยาวคลื่น
รูปแบบการเขย่า Orbital, Double Orbital, Linear
จำนวนรอบการเขย่า (rpm/min) Min 100 min-1, Max 700 min-1
ระยะเวลาการเขย่า (sec) Max 300 sec
Kinetic การสแกนแบบ cycles จำนวนรอบ 1-250 rpm
รอบละ 1-10,000 sec
การพักระหว่างรอบ 0-10 sec
การสแกนแบบ spectra ตั้งค่า Resolution ได้ที่ 1, 2, 5 และ 10 nm
Endpoint การสแกนแบบ spectra ตั้งค่า Resolution ได้ที่ 1, 2, 5 และ 10 nm
GC-MS
GC-MS
ความรู้ทั่วไป : เครื่องมือสำหรับแยกวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารในสภาวะแก๊ส โดยใช้ตัวตรวจวัด (Detector) เป็นแบบเครื่องวิเคราะห์มวลสาร (Mass Spectrometer) นิยมนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการวิเคราะห์สารประกอบที่ระเหยได้ เช่น สารแต่งกลิ่น กรดไขมัน สารหอมระเหยในพืช เป็นต้น นอกจากนั้นยังนำมาประยุกต์ในทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์สารเสพติด หรือการใช้ฮอร์โมนในนักกีฬา มีความไวสูง สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ  ให้ข้อมูลที่สามารถทำนายชนิดขององค์ประกอบที่มีอยู่ในสารได้อย่างค่อนข้างแม่นยำโดยอาศัยการเปรียบเทียบ Fingerprint ของเลขมวล (Mass number) ของสารตัวอย่างนั้นๆ กับข้อมูลที่มีอยู่ใน Llibrary
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (Gas Chromatograph – Mass Spectrometer/Mass Spectrometer (GC-MS/MS))
ยี่ห้อ : Shimadzu รุ่น : Nexis GC-2030, GC-MS-QP2020NX
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการ GC-MS และ HPLC
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นายณัฐพันธ์ สงวนศักดิ์บารมี
อัตราค่าบริการ :

  1. บริการตรวจวิเคราะห์โดยเจ้าหน้าที่ทำการวิเคราะห์ให้ตัวอย่างละ – บาท
  2. ค่าบริการโดยนำคอลัมน์มาเอง ค่าบริการใช้เครื่อง GC-MS (ต่อชั่วโมง) – บาท
  3. ค่าบริการใช้เครื่อง GC-MS โดยใช้คอลัมน์ของศูนย์ ค่าบริการใช้เครื่อง GC-MS (ต่อชั่วโมง) – บาท
  4. ค่าบริการใช้คอลัมน์ของศูนย์ (ความยาวคอลัมน์ตั้งแต่ 60 เมตรขึ้นไป) (ต่อวัน) – บาท
  5. ค่าบริการใช้คอลัมน์ของศูนย์ (ความยาวคอลัมน์น้อยกว่า 60 เมตร) (ต่อวัน) – บาท
  6. ค่าวัสดุสิ้นเปลือง Furrule Vespel (การเปลี่ยนคอลัมน์) อันละ – บาท
  7. Column nut fitting (การเปลี่ยนคอลัมน์) อันละ – บาท
  8. Vial Amber with Cap ขนาด 2 mL ชุดละ – บาท
  9. Print ผลวิเคราะห์ พร้อม Mass Spectrum ของพีคใดพีคหนึ่งราคาแผ่นละ – บาท

หมายเหตุ

1. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนคอลัมน์ของศูนย์วิจัยฯไปเป็นคอลัมน์ของผู้ใช้บริการเอง ซึ่งต้องทำการเปลี่ยน 2 ครั้ง โดยเปลี่ยนคอลัมน์ของศูนย์ออก และทำการใส่คอลัมน์ของศูนย์เข้าไปดังเดิม เพราะฉะนั้นผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตามจำนวนจริง

2. ค่าสอนใช้เครื่อง ครั้งละ – บาท

เครื่องผลิตน้ำสำหรับห้องปฏิบัติการ คุณภาพน้ำระดับ Type I และระดับ Type III
เครื่องผลิตน้ำสำหรับห้องปฏิบัติการ คุณภาพน้ำระดับ Type I และระดับ Type III
ความรู้ทั่วไป : คุณภาพน้ำระดับ Type I :  เป็นระบบน้ำบริสุทธิ์ (Ultra-Pure System) เป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีปริมาณสารปนเปื้อนน้อยที่สุด จึงควรใช้ทันทีหลังจากผลิตเสร็จ   ซึ่งน้ำประเภทนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง

คุณภาพน้ำระดับ Type III :  เป็นการผลิตน้ำ RO (Reverse Osmosis) เหมาะสำหรับการใช้ในงานวิเคราะห์ทดลองในห้องปฏิบัติการทั่วไป

ชื่อเครื่องมือ : เครื่องผลิตน้ำสำหรับห้องปฏิบัติการ คุณภาพน้ำระดับ Type I และระดับ Type III
ยี่ห้อ : Merck รุ่น : Milli-Q
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการเคมี
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ :

  1. Type I ลิตรละ – บาท
  2. Type III ลิตรละ – บาท

 

อัตราการไหล** 0.05 – 1.5 L/min
ค่า TOC ≤ 5 ppb
แบคทีเรีย** < 0.1 cfu/ml
ค่าไพโรเจน* < 0.001 Eu/ml
RNases* < 0.01 ng/ml
DNases* < 4 pg/µL
อนุภาคขนาดใหญ่กว่า 0.22 µm** < 1 Particulates/mL
ค่าความต้านทานไฟฟ้า 18.2 MΩ.cm@25 °C
ค่าการนำไฟฟ้า < 2000 µs/cm
แรงดันน้ำ 1 bar < P < 6 bar
อุณหภูมิ 5 °C < T < 35 °C
ปริมาณคาร์บอนที่ละลายในน้ำ < 30 ppm
Free Chlorine < 3 ppm
Fouling Index < 12
pH 4 < pH < 10
Scanning Electron Microscope
Scanning Electron Microscope
ความรู้ทั่วไป : ใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของตัวอย่างวัตถุที่นำมาศึกษา โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ ทำให้ได้ภาพซึ่งมีลักษณะ เป็นภาพ 3 มิติ และ X-rays detector หรือเทคนิค Energy Dispersive Spectroscopy, EDS หรือที่เรียกว่า EDX ซึ่งสามารถรองรับงานการ ศึกษาสภาพพื้นผิวของตัวอย่าง ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ และวัสดุศาสตร์ทั้งที่ผ่านการเคลือบและไม่เคลือบด้วยโลหะ การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ
ชื่อเครื่องมือ : กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดผิววัตถุ (Scanning Electron Microscope: SEM)
ยี่ห้อ : JEOL รุ่น : JSM-IT200
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการ FT-IR และ SEM
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ :

  1. 1,500 บาทต่อชั่วโมง, กรณีถ่ายภาพ ≤ 3 ภาพ, ถ่ายภาพเพิ่ม 50 บาทต่อภาพ
  2. วิเคราะห์ธาตุด้วย EDS 500 บาทต่อ 3 จุด
  3. วิเคราะห์ธาตุด้วยวิธี EDS แบบ Mapping 500 บาท
  4. เคลือบชิ้นงาน 400 บาทต่อครั้ง
ความต่างศักย์ไฟฟ้า Min 0.5 kv ,Max  30 kv
WD Min 4.00 mm , Max 50 mm
Std – PC Min 0, Max 99.9
การถ่ายภาพ Low vacuum (Min 10 Pa – Max 100 Pa) , High vacuum
กำลังขยาย 40x – 300,000x
Thermogravimetric Analysis
Thermogravimetric Analysis
ความรู้ทั่วไป : TGA เป็นเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุเมื่อได้รับความร้อนโดยการวัดน้ำหนักของวัสดุที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอุณหภูมิด้วยเครื่องชั่งที่มีความไวสูง เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับแก๊สหรือระเหยของน้ำ ในการวิเคราะห์ตัวอย่าง ตัวอย่างจะถูกวางบนจานขนาดเล็ก ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องชั่งละเอียดที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสูง โดยที่ทั้งหมดจะอยู่ในเตาที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและบรรยากาศได้ บรรยากาศภายในอาจจะเป็นแก๊สเฉื่อย
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องวิเคราะห์เชิงอุณหภูมิความร้อน (Thermo Gravimetric Analysis : TGA)
ยี่ห้อ : PerkinElmer รุ่น : TGA 8000
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติเคมี
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ:

  1. 800 บาทต่อตัวอย่าง
  2. 1,500 บาท กรณี Sample pan เสียหาย
อุณหภูมิต่ำสุด : – 20 °C
อุณหภูมิสูงสุด : 1200 °C
ช่วงการดำเนินงาน : 20 – 1200 °C
Bench top Centrifuge
Bench top Centrifuge
ความรู้ทั่วไป : ใช้สำหรับเหวี่ยงสาร หรือตกตะกอน
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องปั่นเหวี่ยงขนาดกลาง (Bench top Centrifuge)
ยี่ห้อ : Sartorius Sigma Centrifuge’s รุ่น : 3-18KS
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ :

  1. 100 บาทต่อชั่วโมง
  2. 500 บาทต่อวัน

 

เบอร์หัวปั่นเหวี่ยง น้ำหนักตัวอย่าง (g) จำนวนหลอดตัวอย่าง ความเร็วรอบ (rpm/min) อุณหภูมิ (ºC) ระยะเวลาการทำงาน (min)
11180/91124 1,100 g 4 หลอด Max 4,700 min-1 Min -20ºC,

Max 40ºC

292 g 12 หลอด
354 g 20 หลอด
12310/91377-Biosaft 80 g 6 หลอด Max 15,500 min-1
12311/91534-Biosaft 30 g 12 หลอด Max 15,000 min-1
12154-H/91123 5 g 24 หลอด Max 26,000 min-1
Freeze dry
Freeze dry
ความรู้ทั่วไป : การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze dehydration หรือ lyophilization) คือการทำแห้ง (dehydration) ด้วยการแช่เยือกแข็ง (freezing) ซึ่งเหมาะกับอาหารที่ไวต่อการสูญเสียคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการด้วยความร้อน
ชื่อเครื่องมือ : การทำแห้งภายใต้ความเย็นและสุญญากาศ (Freeze dry)
ยี่ห้อ : CHRIST รุ่น : BETA 2-8 LSCbasic
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติเคมี
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นายณัฐพันธ์ สงวนศักดิ์บารมี
อัตราค่าบริการ :

  1. 300 บาทต่อชั่วโมง
  2. 1,500 บาทต่อวัน
ปรับอุณหภูมิได้ 2 หน่วย : องศาเซลเซียส (°C) และ องศาฟาเรนไฮต์ (°F)
หน่วยความดันบรรยากาศ : Mbar, hPa, Torr
ระยะเวลา : Min 1 วินาที – Max 999 ชั่วโมง และ ∞
ความดันบรรยากาศ : Min 0.001 mbar , Max 1000 mbar

Min 0.001 hPa , Max 1000 hPa

Min 0.0008 Torr , Max 750.06 Torr

ขนาดของถาดที่ใส่ตัวอย่าง : เส้นผ่านศูนย์กลาง 24.5 ซม. ความสูง 2 ซม.
จำนวนชั้นที่ใส่ถาด : Min 1 ถาด Max 13 ถาด
PCR machine
PCR machine
ความรู้ทั่วไป : เพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในหลอดทดลอง โดยการควบคุมอุณหภูมิ ในขั้นตอนดังนี้

1. Denaturation เป็นขั้นตอนการคลายเกลียว DNA

2.  Annealing เป็นขั้นตอนการจับของ Primer กับ DNA ต้นแบบ

3. Extension เป็นขั้นตอนการสร้าง DNA สายใหม่ โดยใช้เอนไซม์ DNA polymerase

ชื่อเครื่องมือ : เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม (PCR machine)
ยี่ห้อ : PeqLab รุ่น : Peqstar
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ :

  1. 200 บาทต่อชั่วโมง
  2. 1,000 บาทต่อวัน
อุณหภูมิ (ºC) Block Temp Min 4ºC, Max 105ºC การเพิ่ม-ลด 9.9ºC/min
  Lid Temp Min 40ºC, Max 120ºC
Cycles สามารถตั้งได้ 1-99 cycles
ระยะเวลาการทำงาน Max 23 hr. หรือ 1,439 min หรือ 86,399 sec
ระยะเวลาการเก็บรักษาภายในเครื่อง Max 9 hr. หรือ 599 min หรือ 35,999 sec
สามารถตั้งเวลาโปรแกรมได้ 8-16 โปรแกรม
Spray Dryer
Spray Dryer
ความรู้ทั่วไป : เหมาะสำหรับอาหารเหลว น้ำ ตัวทำละลาย นม น้ำผลไม้ กาแฟ ทำให้สามารถพ่นของเหลวเป็นละอองฝอยได้ จึงไปปะทะกับกระแสลมร้อนทำให้เกิดการระเหยของน้ำออกอย่างรวดเร็ว โดยส่วนที่แห้งจะอยู่ในรูปแบบของผง และตกกลับลงมาในถังเก็บผงแห้งบางส่วนจะตกไปที่เครื่องแก้วดักส่วนทิ้ง
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray dry)
ยี่ห้อ : LabPlant รุ่น : SD-06AG
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องเก็บสารเคมีและวัสดุอุปกรณ์
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ : 300 บาทต่อชั่วโมง, 1,500 บาทต่อวัน
ระบบไฟฟ้า 220/240V/50-60 Hz มีขนาด 13 amp
อุณหภูมิ ตั้งแต่ 40 – 250 องศาเซลเซียล
พัดลม 0 –  50 RPM
ปั๊มแบบรีดสาย 0 – 50 RPM
หัวฉีด ปรับได้ 3 ระดับ คือ ช้า ปานกลาง เร็ว
รูของหัวฉีด ขนาดเล็กประมาณ 0.5 mm สามารถพ่นของเหลวเป็นละอองฝอย
ความเร็วปั๊ม อัตราการไหลของของเหลว (+/-10%)
50 รอบ/นาที 2115 มล/ชั่วโมง
Rotary evaporator
Rotary evaporator
ความรู้ทั่วไป : เป็นเครื่องที่ใช้ระเหยสารตัวทำละลายออกจากสารละลายตัวอย่าง เพื่อให้ปริมาณสารละลายตัวอย่างที่ต้องการนั้นเข้มข้นขึ้น ด้วยการให้ความร้อนจากอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ และระบบสุญญากาศ เพื่อลดจุดเดือดของสารตัวทำละลายตัวอย่างให้ต่ำลง
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องกลั่นระเหยแบบหมุนภายใต้สุญญากาศ (Rotary evaporator)
ยี่ห้อ : Heidolph รุ่น : Hei-Vap Precision
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติเคมี
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นายณัฐพันธ์ สงวนศักดิ์บารมี
อัตราค่าบริการ :

  1. 200 บาทต่อ 1 ตัวอย่างไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  2. 400 บาทต่อ 1 ตัวอย่าง ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
  3. 1,000 บาทต่อวัน
ขวดปริมาตรตัวอย่าง : 50 ml, 100ml, 250ml, 500 ml, 1000ml
ความดัน : 30 – 1000
อุณหภูมิอ่างน้ำ : อุณหภูมิห้อง – 100 °C
ความเร็วรอบสามารถปรับได้ตั้งแต่ : 10 – 280 รอบต่อนาทีและเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 รอบต่อนาที
ระยะของการปรับตั้งเวลา : 1 – 1440 นาที เพิ่มครั้งครั้งละ 1 นาที
Gel Documentation
Gel Documentation
ความรู้ทั่วไป : เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกภาพและตำแหน่งของ DNA,RNA และ single stand protein จากการทำ blot หรือ gel electrophoresis แถบของ DNA ที่แยกได้นี้ต้องติดฉลากด้วยสีย้อม โดยจะเป็นสารประกอบฟลูออเรสเซนส์ที่เรืองแสง ซึ่งสามารถดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต และแสงในช่วงที่มองเห็น เพื่อสังเกตการปรากฏของแถบของ DNAที่แยกได้บนแผ่นเจล และสามารถควบคุมการทำงาน การประมวลผลผ่านคอมพิวเตอร์โดยตรง
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องมือสำหรับบันทึกและพิมพ์ภาพแถบสาร DNA RNA และโปรตีน (Gel Documentation)
ยี่ห้อ : Biostep รุ่น : DH-50
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ :

  1. 150 บาทต่อครึ่งชั่วโมง
ค่าความยาวคลื่นของหลอด UV : 312 nm
Filter : FB530-40-62, FB600-40-62
ค่า ISO : 100, 200, 400, 800, 1,600, 3,200, 6,400 และ 12,800
UV/Vis Spectrophotometer
UV/Vis Spectrophotometer
ความรู้ทั่วไป : ใช้วัดค่าการดูดกลืนแสงในช่วง UV และ Visible ในการวิเคราะห์ค่าต่างๆ
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV/Vis Spectrophotometer)
ยี่ห้อ : PerkinElmer รุ่น : Lambda 365
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
  1. อัตราค่าบริการ : 150 บาทต่อชั่วโมง
ช่วงในการสแกนที่เครื่องสามารถทำงานได้ : 190 – 1,100 nm
ระยะช่วงห่างในการเก็บข้อมูล : ได้ที่ 0.05, 0.1, 0.5, 1.0 และ 2.0 nm
ความเร็วในการสแกน (nm/min) : Min 1 nm/min, Max 3,000 nm/min
ความกว้างของช่องแสง SBW (nm) : 0.5, 1.0, 2.0, 5.0 และ 20.0 nm

ถ้าสารเป็นของเหลว แนะนำ 1-2 nm

ถ้าสารเป็นของแก๊ส แนะนำ 0.5-1 nm

ถ้าสารเป็นของแข็ง แนะนำ 2-5 nm

Centrifuge
Centrifuge
ความรู้ทั่วไป : ใช้สำหรับเหวี่ยงสาร หรือตกตะกอน
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องเหวี่ยงสารตกตะกอนขนาดกลาง (Centrifuge)
ยี่ห้อ : CRYSTE รุ่น : PURISPIN 17R
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ :

  1. 100 บาทต่อชั่วโมง
  2. 500 บาทต่อวัน
ขนาดหลอดตัวอย่าง (ml) : 0.2 และ 1.2 – 2.0 ml
ปริมาตรตัวอย่าง (ml) : 0.2 และ 1.2 – 2.0 ml
จำนวนหลอดตัวอย่าง : 24 หลอด
ความเร็วรอบ (rpm/min) :  Max 17,000 min-1
แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางสัมพัทธ์ :  Max 27,399 xg
อุณหภูมิ (ºC) :  Min -10ºC, Max 40ºC
ระยะเวลาการทำงาน (min) :  Max 100 min
Mini Centrifuge
Mini Centrifuge
ความรู้ทั่วไป : ใช้สำหรับเหวี่ยงสาร หรือตกตะกอน
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องเหวี่ยงสารตกตะกอนขนาดเล็ก (Mini Centrifuge)
ยี่ห้อ : LABOGENE รุ่น : SCANSPEED MINI
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ:

  1. 50 บาทต่อชั่วโมง
  2. 250 บาทต่อวัน
ขนาดหลอดตัวอย่าง (ml) : 0.2 และ 1.2 – 2.0 ml
ปริมาตรตัวอย่าง (ml) : 0.2 และ 1.2 – 2.0 ml
จำนวนหลอดตัวอย่าง : 12 หลอด
ความเร็วรอบ (rpm/min) :  Max 13,500 min-1
แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางสัมพัทธ์ :  Max 12,300 xg
ระยะเวลาการทำงาน (min) : Max 30 min
Fluorescence Microscope
Fluorescence Microscope
ความรู้ทั่วไป : กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาตัวอย่างที่ผ่านการ เตรียมและย้อมสี รวมถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พร้อมชุดถ่ายภาพด้วยระบบดิจิตอล (Olympus) ประกอบด้วย light microscope, DIC และกล้องฟลูออเรสเซนต์
ชื่อเครื่องมือ : กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนท์ (Fluorescence Microscope)
ยี่ห้อ : OLYMPUS รุ่น : BX-53
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ :

  1. 300 บาทต่อชั่วโมง
  2. 1,500 บาทต่อวัน
เลนส์ใกล้ตา : 10x/22
เลนส์ใกล้วัตถุ : 4x/0.13, 10x/0.30, 20x/0.50, 40x/0.75, 60x/0.90, 100x/1.30
โหมดการส่อง :  BF, FITC, TXRED และ DAPI
ช่วงความยาวคลื่นที่ส่อง : 3 ความยาวคลื่น
Fourier Transform Infrared Spectrophotometer
Fourier Transform Infrared Spectrophotometer
ความรู้ทั่วไป : วิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นของตัวอย่างโดยอาศัยการวัดการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้หมู่ฟังก์ชั่นของสารแต่ละฟังก์ชั่นเกิดการสั่นที่ความถี่แตกต่างกันโดยรายงานออกในรูปแบบเลขคลื่น หรือ wave numbers
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องวิเคราะห์อัตลักษณ์ของสารด้วยคลื่นอินฟาเรต (Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FT-IR))
ยี่ห้อ : THERMO รุ่น : Nicolet I550 FT-IR
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการ FT-IR และ SEM
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ :

  1. 1,000 บาทต่อตัวอย่างทาง KBr
  2. 1,500 บาทต่อตัวอย่างทาง ATR
วัดตัวอย่างได้แบบ : FT – IR และ ATR
ลักษณะตัวอย่าง : ไม่รับตัวอย่างที่เป็นของเหลว
Microscope
Microscope
ความรู้ทั่วไป : ใช้ส่องตัวอย่างที่มีขนาดเล็กและต้องใช้กำลังขยายสูง
ชื่อเครื่องมือ : กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
ยี่ห้อ : OLYMPUS รุ่น : CX-23
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ :

  1. 50 บาทต่อชั่วโมง
  2. 250 ต่อวัน
เลนส์ใกล้ตา : 10x/20
เลนส์ใกล้วัตถุ : 4x/0.10, 10x/0.25, 40x/0.65, 100x/1.25 oil
Autoclave
Autoclave
ความรู้ทั่วไป : เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับนึ่งฆ่าเชื้อ โดยใช้ไอน้ำร้อนและแรงดันสูง ทำให้ของที่ผ่านการนึ่งแล้วอยู่ในสภาพปราศจากเชื้อ จึงมักใช้เครื่องนี้ในการนึ่งฆ่าเชื้อของเสียทางชีวภาพเพื่อกำจัดและป้องกันการปนเปื้อน และนอกจากจะใช้ป้องกันการปนเปื้อนแล้ว เครื่อง Autoclave ยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อตัวอย่างก่อนจะนำมาใช้ในการทดลองได้อีกด้วย ส่วนการใช้งานเครื่อง Autoclave นั้น ควรมีการทดสอบเครื่องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่อง Autoclave
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ (Autoclave)
ยี่ห้อ : Uniclave รุ่น : FD50A
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2562
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีววิทยา
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ

  1. 200 บาทต่อครั้ง
XRD
XRD
ความรู้ทั่วไป : เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สมบัติเชิงโครงสร้างของวัสดุที่ไม่ทำลายสารตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ที่ตกกระทบหน้าผลึกของสารตัวอย่างที่มุมต่างๆ กัน
ชื่อเครื่องมือ : เครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์
ยี่ห้อ : BRUKER – รุ่น : D2 Phaser X-ray Diffractiometer
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : SC 106 A
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ : ยังไม่ประกาศราคาอย่างเป็นทางการ
Hot Air Oven
Hot Air Oven
ความรู้ทั่วไป : ตู้อบแห้งนั้นเป็นตู้อบแบบนี้ทำหน้าที่อบแห้งไล่ความชื้นออกจากวัตถุดิบ ทำให้สามารถทำให้เก็บวัตถุดิบได้นานขึ้น เพื่อใช้ในการแปรรูปผลผลิตต่างๆ โดยสามารถอบวัตถุดิบได้หลากหลาย
ชื่อเครื่องมือ : ตู้อบลมร้อน (Hot Air Oven)
ยี่ห้อ : Memmert รุ่น : Universal oven model UN 260
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีววิทยา
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ :

  1. 70 บาทต่อชั่วโมง
  2. 350 บาทต่อวัน
Water bath
Water bath
ความรู้ทั่วไป : เป็นอ่างน้ำที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ทำด้วยโลหะสแตนเลสสตีลทั้งภายในและภายนอก มีขนาดให้เลือกถึง 6 ขนาด พร้อมชุดควบคุมอุณหภูมิแบบ controller BASIC. สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิห้องถึง 95 องศาเซลเซียส มีระบบป้องกันอันตรายจากอุณหภูมิสูงเกิน
ชื่อเครื่องมือ : อ่างควบคุมอุณหภูมิ (water bath)
ยี่ห้อ : Memmert รุ่น : WNB45
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการเคมี
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวสุจิตรา แสงชัยศรี
อัตราค่าบริการ :

  1. 50 บาทต่อชั่วโมง
  2. 250 บาทต่อวัน
อุณหภูมิ :  Min 10 °C – Max 95 °C
Incubator (Low Temp.)
Incubator (Low Temp.)
ความรู้ทั่วไป : เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปรับอุณภูมิได้ตามที่ต้องการ มีประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการทดลองตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ระหว่างการทดลอง
ชื่อเครื่องมือ : ตู้บ่มเพาะเชื้ออุณหภูมิต่ำ (Incubator)
ยี่ห้อ : CRYSTE รุ่น : –
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีววิทยา
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นางสาวปภัสรา ทิพย์บรรพต
อัตราค่าบริการ :

  1. 50 บาทต่อชั่วโมง
  2. 250 บาทต่อวัน
Incubator (High Temp.)
Incubator (High Temp.)
ความรู้ทั่วไป : เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปรับอุณภูมิได้ตามที่ต้องการ มีประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการทดลองตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ระหว่างการทดลอง
ชื่อเครื่องมือ : ตู้บ่มเพาะเชื้ออุณหภูมิสูง  (Incubator)
ยี่ห้อ : CRYSTE รุ่น : –
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการชีววิทยา
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ :
อัตราค่าบริการ :

  1. 50 บาทต่อชั่วโมง
  2. 250 บาทต่อวัน
AAS
AAS
ความรู้ทั่วไป : ใช้ในการวิเคราะห์ธาตุที่อยู่ในรูปสารละลาย ด้วยเทคนิค Atomic Absorption Spectroscopy ซึ่งเป็นกระบวนการที่อะตอมอิสระของธาตุ ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นระดับหนึ่งที่เฉพาะกับธาตุแต่ละธาตุ
ชื่อเครื่องมือ : อะตอมมิกแอพซอร์พชั่นสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Atomic Absorption Spectrophotometer AAS)
ยี่ห้อ : PerkinElmer รุ่น : 900F และ 900Z
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2556
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องเครื่องมือ AAS
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นายณัฐพันธ์ สงวนศักดิ์บารมี
อัตราค่าบริการ :

  1. บริการเทคนิค  Flame AAS 400 บาทต่อชั่วโมง
  2. บริการเทคนิคทาง Graphite Furnace 600 บาทต่อชั่วโมง

 

HPLC
HPLC
ความรู้ทั่วไป : เครื่องมือสำหรับแยกและวิเคราะห์สารประกอบที่ผสมอยู่ในตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการความแตกต่างของอัตราการเคลื่อนที่ของสารประกอบบนเฟสคงที่ (Stationary Phase) โดยมีเฟสเคลื่อนที่ (Mobile Phase) เป็นตัวพาไป สารแต่ละชนิดจะถูกแยกออกมาเป็นส่วนๆในเวลาที่ต่างกัน โดยสารที่แยกออกมาแต่ละชนิดจากคอลัมน์จะผ่านเข้าสู่อุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณด้วยตัวตรวจวัด (Detector) ซึ่งสัญญาณที่บันทึกได้จะแปลผลออกมาเป็น โครมาโตแกรม (Chromatogram) มีลักษณะเป็นพีค  (Peak) ในการวิเคราะห์ผลจะนำพื้นที่ใต้พีค ของแต่ละสารมาคำนวณ ผล เปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน (Calibration curve) ก็จะทราบปริมาณของสารตัวอย่าง เครื่อง HPLC สามารถวิเคราะห์สารได้ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) และปริมาณ (Quantitative Analysis) นิยมใช้วิเคราะห์สารประกอบที่ระเหยยาก (Low Volatile Substation) หรือน้ำหนักโมเลกุลสูง (High Molecular Weight Compounds) โดยสามารถใช้กับงานด้านต่างๆ เช่น วิเคราะห์หาปริมาณวิตามิน กรดอะมิโน น้ำตาล สารกระตุ้น ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าแมลง
ชื่อเครื่องมือ : โครมาโทกราฟีเหลวสมรรถนะสูง (High Performance Liquid Chromatography HPLC)
ยี่ห้อ : Agilent รุ่น : 1260 Infinity II
ปีที่ทำการสั่งซื้อ : 2563
ชื่อห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการ GC-MS และ HPLC
อาคาร : ศูนย์วิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ : นายณัฐพันธ์ สงวนศักดิ์บารมี
อัตราค่าบริการ :

  1. ค่าบริการตรวจวิเคราะห์โดยเจ้าหน้าที่ทำการวิเคราะห์ให้ตัวอย่างละ – บาท
  2. ค่าบริการใช้เครื่องมือโดยผู้ใช้บริการทำการวิเคราะห์เองค่าใช้เครื่องมือชั่วโมงละ – บาท
  3. ค่าคอลัมน์วันละ (กรณีใช้คอลัมน์ของศูนย์ฯ) – บาท
  4. ค่าวัสดุสิ้นเปลือง Vial Amber with Cap ขนาด 2 mL ชุดละ – บาท
  5. Print ผลวิเคราะห์ ราคาแผ่นละ – บาท
หมายเหตุ

1. ผู้ส่งตัวอย่างวิเคราะห์ต้องแนบ HPLC-Condition และต้องเตรียม Mobile Phase มาใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วย

2. ค่าสอนใช้เครื่อง ครั้งละ – บาท

 

เครื่องฉีดสารตัวอย่างอัตโนมัติ ขวดตัวอย่าง ขนาด 2 mL : จำนวน 132 ขวด
ฉีดสารตัวอย่างตั้งแต่ : 0.1 ถึง อย่างน้อย 1,400 mL
ตู้อบคอลัมน์ ตั้งอุณหภูมิตั้งแต่ :  5 °C – 80 °C
บรรจุคอลัมน์ ขนาด 30 ซม. ได้อย่างน้อย 2 คอลัมน์
เครื่องตรวจวัดสารชนิดดูดกลืนแสงอุลตร้าไวโอเลต และวิสิเบิล ชนิดไดโอดอะเรย์ ความยาวคลื่น : ตั้งแต่ 190-950 นาโนเมตร
ความกว้างของ Slit : 1 , 2 , 4 , 8 , 16 นาโนเมตร
เครื่องตรวจวัดสารแบบฟลูออเรสเซนส์ ช่วงคลื่น extraction : 200 – 1200 นาโนเมตร
ช่วงคลื่น emission : 200 – 1200 นาโนเมตร
แหล่งกำเนิดแสง : หลอดซีนอน Flash lamp
สามารถทนความดันได้ : 20 บาร์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save